Change Language: ภาษาไทย
ผลงานและนวัตกรรม
ผลงานไฮไลต์
การรู้จำเสียงนับเลขภาษาไทยของเด็กก่อนวัยเรียน
นายณัฐพิชญ์ยุกต์ ศิวะหรรษาพันธ์ และนายสิรภพ ชาตะรูปะ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ประภาพร รัตนธำรง และ ดร.วาทยา ชุณห์วิจิตรา (NECTEC)
สมาร์ทแมท เว็บแอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการประเมินพัฒนาการทักษะเชิงตัวเลขและการฝึกทักษะเชิงตัวเลขเบื้องต้นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในรูปแบบของเกมพัฒนาขึ้นมาด้วยความร่วมมือระหว่างกุมารแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข้อจำกัดในส่วนของ แบบทดสอบ และแบบฝึกหัดการนับที่ต้องให้เด็กที่เป็นผู้ใช้ออกเสียง แต่แอปพลิเคชันไม่
สามารถประเมินผลการออกเสียงของเด็กได้ จำเป็นต้องมีผู้ปกครองคอยอยู่ด้วยในระหว่างการใช้งาน แต่จากการศึกษาทดลองเบื้องต้นพบว่าระบบรู้จำเสียงในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าใจเสียงของเด็กได้ดีเท่ากับการรู้จำเสียงของผู้ใหญ่เนื่องจากลักษณะการออกเสียงที่ไม่สม่าเสมอ ต่างจากผู้ใหญ่ที่จะใช้โทนเสียง และการเว้นช่วงค่อนข้างสม่าเสมอ
การให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยี คอนเทนเนอร์และการจัดการคอนเทนเนอร์
นายทศพล ปราสาทกลาง และนายวุฒิพงศ์ วงษ์เเสงทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ประภาพร รัตนธำรง
ปัจจุบันการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มักอาศัยการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่อยู่เฉพาะเครื่องภายในห้องปฏิบัติการหนึ่งๆ เท่านั้น ซึ่งนอกจากจะ
เป็นการใช้ทรัพยากรของเครื่องมากเกินความจาเป็น ยังทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าว เนื่องจากจำเป็นต้องเดินทางมาใช้งานที่ห้อง
ปฏิบัติการซึ่งมีซอฟต์แวร์ติดตั้งไว้เท่านั้น หากเกิดปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถเข้าไปใช้งานห้องปฏิบัติการดังกล่าวได้ ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานเครื่อง
คอมพิวเตอร์ภายในห้องปฏิบัติการเช่นกัน นอกจากนี้การจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันการดำเนินงานมีความซ้าซ้อนและใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างนานผู้พัฒนาระบบจึงพัฒนาบริการห้องปฏิบัติการเสมือนด้วยเทคโนโลยีคอนเทน
เนอร์และการจัดการคอนเทนเนอร์ขึ้น เพื่อช่วยให้การจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบอาศัยการสร้างคลัสเตอร์ระหว่างเครื่องควบคุมและเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแลป หรือ ไคลแอนต์ (Client)
โดยใช้ Kubernetes ร่วมกับ Docker เพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ในแต่ละเครื่องไคลแอนต์ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาสามารถร้องขอการใช้งานห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้จากทุกที่ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การย้ายซอฟต์แวร์ไปใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ สามารถทำได้
สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ไคลแอนต์ได้อีกด้วย
ระบบบริหารและจัดการกิจกรรมฝึกปฏิบัติ สำหรับผู้มีภาวะเครียด
นายสุริยา มีขุนทด และ นางสาวทวิพร ทัดแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร เยาวดี เต็มธนาภัทร์ และ นางสาว พรทิพย์ แม่นทรง
ระบบบริหารและจัดการกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีภาวะเครียด เพื่อบริหารและสร้างกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการความเครียดของผู้มีภาวะเครียด (client) ระบบประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
– Watch Your Mind ให้การใช้งานสำหรับนักจิตวิทยาตั้งแต่การรับเข้า client บันทึกอาการ เหตุการณ์สำคัญ ออกแบบ วางแผน และติดตามการให้/ทำกิจกรรมพัฒนาทักษะ ระบบเก็บข้อมูลโดยการนำเข้า และรวบรวมข้อมูลของ client จาก
Watch My Mind จึงได้ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สามารถวิเคราะห์ ติดตามภาวะเครียด และสนับสนุนการเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับ client ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ
– Watch My Mind เป็นระบบสนับสนุน แจ้งเตือน บันทึกการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายของ client สามารถวิเคราะห์ข้อความที่บันทึกด้วย AI for Thai เพื่อสกัดความรู้สึกเชิงบวก/ลบ นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลสุขภาพจากอุปกรณ์ smart watch
อัตโนมัติ ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งให้ WYM เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบพัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษา Swift ผู้ใช้ทั้งผู้มีภาวะเครียดและนักจิตวิทยาสามารถเข้าใช้งานระบบได้บนแพลตฟอร์ม iOS และระบบบันทึกข้อมูลการทำกิจกรรมและอาการต่าง ๆ ของ client ใน Firebase บน GCP
เว็บแอปพลิเคชันอ่านบทละครอิเล็กทรอนิกส์
นายวรากร วิไลรัศมี และ
นายนันทวัฒน์ เจริญผล
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ปกรณ์
ลี้สุทธิพรชัย
ปัจจุบันมีผู้อ่านหนังสือเสียงและพอดแ คสต์เป็นจานวนมากโดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีเวลาว่างหรือผู้ที่ต้องการความบันเทิงขณะทางาน ผู้พิการทาง
สายตาและผู้ที่ต้องการรับรู้เนื้อหาผ่านการฟัง แต่หนังสือเสียงในรูปแบบสื่อบันเทิงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบไม่
แสวงหาผลกำไรเพื่อรองรับการใช้งานของผู้พิการทางการมองเห็น ส่วนการผลิตหนังสือเสียงในเชิงพาณิชย์มีต้นทุนในการผลิตสูงผู้พัฒนาระบบจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบอ่านบทละครอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ที่มีความต้องการจึงได้มีการจัดทำเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ด้วยการนำเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ ( Text to speech ) เข้ามาใช้กับระบบโดย ผู้อ่านสามารถรับฟังเนื้อของบทละครและเสียงของตัวละครได้เสมือนจริง เพื่อเป็นตัวช่วยในการรับรู้เนื้อหาของผู้อ่านผ่านการฟังระบบอ่านบทละครอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ที่มีความต้องการจึงได้มีการจัดทำเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ด้วยการนำเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ ( Text to speech ) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรับฟังเนื้อของบทละครและเสียงของตัวละครได้เสมือนจริง
แนะนำ UI (User Interface) สำหรับนักพัฒนามือใหม่
นายพรรษกร โกศลพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.มนวรรัตน์ ผ่องไพบูลย์
ในปัจจุบันการพัฒนาระบบหรือแอปพลิเค ชันต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ซึ่งนักพัฒนามือใหม่ที่สนใจจะพัฒนาระบบหรือแอพพลิเคชั่นจาเป็นต้องมีความรู้ในการพัฒนา แต่เนื่องจากองค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีส่วนมากอยู่ในรูปแบบหนังสือหรือตาราภาษาอังกฤษซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่วนองค์ความรู้ที่มีอยู่มากบนอินเทอร์เน็ตเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้เขียนบทความ ซึ่งบางครั้งอาจมีความแตกต่างหรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังมี Design System เป็นองค์ความรู้ของรูปแบบการใช้ส่วนต่อประสานภายในองค์กร เผยแพร่ให้กับผู้ใช้งานทั่วไปเรียกว่า UI component โดย UI component บอกเพียงความหมายของ UI component และอธิบายวิธีการนา UI component ไปติดตั้งและใช้งานในระบบหรือแอพพลิเคชั่นซึ่งไม่มีการอธิบายส่วนของการนาไปใช้งานให้เหมาะสมตามหลักการปฏิสัมพัน
ธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์และตามพฤติกรรมผู้ใช้งานตรงตามทฤษฎี
ระบบช่วยเก็บข้อมูลสุขภาพช่องปากนักเรียน
นายนราธิป แผ่ดิลกกุล และ นางสาวพรไพลิน คนทัด
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร.เยาวดี เต็มธนาภัทร์, ผศ. ทพ. ดร.สุธี สุขสุเดช
แอปพลิเคชัน FILL FOR OH เป็นระบบบันทึกข้อมูลสุขภาพช่องปากนักเรียนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการบันทึกข้อมูล ทำให้สะดวก รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จึงสามารถติดตามสถานะสุขภาพช่องปากนักเรียนทุกภาคการศึกษา เพื่อให้สามารถออกแบบมาตรการป้องกันฟันผุได้ โดยมีผู้ใช้คือ บุคลากรทางการแพทย์ระบบถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ Flutter Framework ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานระบบได้หลากหลาย platform โดยเริ่มต้นการออกตรวจ หากผู้ใช้ต้องการรู้เส้นทางไปยังปลายทางผู้ใช้สามารถเลือกโรงเรียนผ่านแผนที่โดยระบบนำเสนอในรูปแบบ Google map หลังจาก
ถึงที่หมายแล้วผู้ใช้ทำแบบบันทึกสุขภาพช่องปาก เมื่อบันทึกผลการตรวจ จะบันทึกผลไปยัง cloud database ซึ่งเลือกใช้ Amazon EC2 หากโรงเรียนเป็นพื้นที่อับสัญญานอินเทอร์เน็ตระบบจะบันทึกผลไปยัง SQLite local database หากระบบกลับมามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกครั้งจะ synchronize ทำให้สืบค้นข้อมูลได้แบบ real – time เมื่อมีการเก็บข้อมูลสุขภาพช่องปากนักเรียนโดยผู้ใช้ ระบบจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลาที่ออกตรวจ
โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ห้องเรียน และโรงเรียน ชี้ให้เห็นว่าผู้ดูแลในแต่ละระดับตั้งแต่ ครอบครัว คุณครูประจำชั้น และผู้อำนวยการโรงเรียนมีมาตรการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใด
นศ.ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์ลำปาง ชนะเลิศรางวัลที่ 1 ในการแข่งขันโครงการ "True 5G Word of Smart Education with Temi Robot Bootcamp"
ขอแสดงความยินดีกับ นายประพันธ์พงษ์ เพียนจันทร์ นศ.ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เจ้าของผลงาน “Introrest : เพื่อนคู่คิด แนะนำเส้นทาง สินค้าและบริการ” ที่ชนะเลิศรางวัลที่ 1 ในการแข่งขันโครงการ “True 5G Word of Smart Education with Temi Robot Bootcamp” จัดโดย บ.ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ซึ่งจัดการแข่งขันแบบออนไลน์ผ่านระบบ true VROOM เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 โดยได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท สำหรับนำไปต่อยอดพัฒนาโครงการ และยังได้รับสิทธิเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน 2564 ต่อไป
เข้ารอบชิงชนะเลิศและได้รับทุนสนับสนุนรอบที่สอง เป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 (NSC 2020)
โครงงาน “บีโก้:ปลอกคอสุนัขอัจฉริยะเพื่อสร้างเครือข่ายสุนัขผู้พิทักษ์” พัฒนาโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ลำปาง ได้แก่ นายทวีศักดิ์ ว่างป่อ, นายนพณัฐ นามปั่น, และนายธีรภัทร กาญจนาคม โดยมี ผศ.ดร.วรวรรณ ดีอัซ การ์บาโย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นผู้ให้คำปรึกษา ได้รับทุนสนับสนุนรอบที่สอง เป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 (NSC 2020)
รางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยม (Excellent Paper Awards) ในงานประชุมวิชาการ “The 7th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUC2) 2019
น.ส. สุปราณี เทศขวัญ และ น.ส. ศศิธร เกรียงไกรวณิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม. ธรรมศาสตร์ โดยมี ดร. ธนาธร ทะนานทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยม (Excellent Paper Awards) ประเภทการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบติดตามและวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยไทยบนสื่อสังคมออนไลน์” แบบปากเปล่า (Oral Presentation) ในงานประชุมวิชาการ AUC2 2019 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ. เชียงราย และผลงานนี้ได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัย วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
รางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยม (Excellent Paper Awards) ในงานประชุมวิชาการ “The 8th ASIA Undergraduate Conference In Computing (AUC2) 2020
ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์และสกัดคุณลักษณะของเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยไทยบนทวิตเตอร์” ของนายชนภัทร รักพงศ์นาถ นายพีรวัส บดีพงศ์ และ อ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง (อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ม. ธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยม (Excellent Paper Awards) ประเภทการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า (Oral Presentation) ในงานประชุมวิชาการ AUC2 2020 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2562 ในงานวันนักประดิษฐ์ 2562
อาจารย์ ดร. ธนาธร ทะนานทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม. ธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2562 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “กรอบพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยโรคหัวใจแบบต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผ่านเครือข่ายเซ็นเซอร์ร่างกายแบบไร้สาย” โดยได้รับมอบรางวัลจาก ท่าน พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในงานรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ว.ช.) วันนักประดิษฐ์ 2562 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
รางวัลพิเศษในการแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย ประจำปี 2560 (The 2017 ACM-ICPC Asia Nakhon Pathom Regional Programming Contest)
ทีม CS_TU Conner ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลำปาง) ได้แก่ นายณัฐภัทร ตั้งนิยม นายจิรณัฏฐ์ ภู่จำรูญ นางสาวสิรินยาภรณ์ ทสุตา โดยมีอาจารย์ผู้ดูแลทีมคือ อ.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เข้าร่วมการแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย ประจำปี 2560 (The 2017 ACM-ICPC Asia Nakhon Pathom Regional Programming Contest) ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2560 ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับรางวัลพิเศษ 1 รางวัล
วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เปิดตัวแอปพลิเคชั่น “สมาร์ทโลคอลไกด์” ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ เพิ่มรายได้ผู้ประกอบการในชุมชน
รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และ เปิดตัวต้นแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน “สมาร์ทโลคอลไกด์” (Smart Local Guide) แอปพลิเคชั่นที่
นายธนโชติ เฉวียงหงษ์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวนวัตกรรมระบบ Tracking เพื่อค้นหาผู้ประสบอุทกภัยแบบเรียลไทม์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวต้นแบบนวัตกรรม “ระบบ Tracking ผู้ประสบภัย” หรือระบบแผนที่แสดงตำแหน่งผู้ประสบภัยแบบเรียลไทม์ รายงานผ่านเว็บไซต์แสดงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สามารถแสดงการร้องขอความช่วยเหลือ ค้นหาสถานที่ และแจ้งจุดเกิดภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น แอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์ โดยระบบจะประมวลผลจากทวิตที่มีเครื่องหมายแฮชแท็ก (Hashtag, #) และเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งาน จากนั้นจะแสดงผลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แบบเรียลไทม์ สามารถเข้าถึงได้ทางคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ซึ่งระบบนี้มีนายเตชินท์ มณีศร น.ส.อรพรรณ อิทธิ์ฤทธิ์มีชัย น.ส.วริษฐา เรืองจรัส น.ส.นพวรรณ โจ่ยสา ศิษย์เก่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มธ. ได้ร่วมพัฒนาระบบดังกล่าวต่อเนื่องมา 2 ปี
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาระบบสำหรับติดตามพฤติกรรมเด็กออทิสติก
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาระบบสำหรับติดตามพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวช่วยบันทึกข้อมูล พร้อมให้คำแนะนำสำหรับการสังเกตกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้
ชื่อผลงาน Kids Tracker Autism – แอพ ติดตามพฤติกรรมเด็กออทิสติก ผลงานของนางสาวน้ำเพชร สุขเรือนสุวรรณ และ นายเจตน์ เมืองโครต นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยงาน “Senior Project #3” จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โดยมีคณาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมงานจำนวนมาก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ แอพพลิเคชัน“ดริ๊งเซฟ” ใช้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด -รู้เวลาสร่างเมา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ แอพพลิเคชัน“ดริ๊งเซฟ” ใช้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 4 โดยแอพฯ ดังกล่าว สามารถใช้งานได้ง่ายใน 1 ขั้นตอน เพียงแค่ “เป่าลมหายใจ 5 วิ” เข้าไปที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์
Take a deep breath - and play , a new mobile gaming app, has been designed to help players reduce their blood pressure through breathing.
Developed by students from the Department of Computer Science at Thammasat University’s Faculty of Science and Technology, Breathing Training applies people’s breathing to control characters in the game and enables players to have quality breathing which allows them to conduct the direction and movement of characters on a smartphone.
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบติดตามอาการผู้ป่วยโรคไต บันทึกอาการและอาหารที่กินประจำวัน
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบติดตามอาการผู้ป่วยโรคไต บันทึกอาการและอาหารที่กินประจำวัน ช่วยวิเคราะห์อาการและรับคำแนะนำเบื้องต้น ทำให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพ ชื่อผลงาน Kidney Pro-Tech – แอพ ผู้ช่วยหมอ ตามติดพฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรค ไต ผลงานของนางสาวนรินทร์รัก นามานุภาพ และนายพิชญ์ชาธร บำรุงศรี นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยงาน “Senior Project #3”
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ร่วมกับสมาชิกในทีมได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Global CENTRA Smart Cities Student Hackathon
นางสาวนันท์นภัส บันลือสมบัติกุล และนายประพันธ์ศักดิ์ แก้วละมุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสมาชิกในทีมอีก 2 คน ได้แก่ Pongsakorn U-chupala (Nara Institute of Science and Technology, Computer Science, Japan) และ Parth Patel (University of Florida, Computer Engineering, USA) ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Global CENTRA Smart Cities Student Hackathon ณ University of Florida เมือง Gainesville มลรัฐ Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายนพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในงาน " Dimension Data Challenge 2017 "
นายนพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในการแข่งขันความรู้ด้าน Network & Programming ” Dimension Data Challenge 2017 ” ในวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2017 ชั้น 17 อาคาร Column Tower นอกจากจะได้รับเงินรางวัล ยังมีสิทธิ์เข้ามาเป็นพนักงานของไดเมนชั่น ดาต้าทันที ซึ่งเป็นบริษัทฯอันดับหนึ่งทางด้าน ICT Service and Solution Provider ที่มีเครือข่ายครอบคลุมในประเทศไทยและต่างประเทศ
นายสุทธิเกียรติ์ มีลาภ เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ประจำปี พ.ศ.2559
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ นายสุทธิเกียรติ์ มีลาภ เป็นนักศึกษาปริญญาโท ในที่ปรึกษาของ ผศ.ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร
เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษาเครือข่ายพัฒนบริหารศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ประจำปี พ.ศ.2559
นายทรงวุฒิ เจียมศรีสุคนธ์ ได้รับรางวัล Bangkok International Digital Content Festival 2017
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ นายทรงวุฒิ เจียมศรีสุคนธ์ นักศึกษาปริญญาโท ในที่ปรึกษา ของ รศ.ภาวดี สมภักดี ได้รับรางวัล Bangkok International Digital Content Festival 2017 โดย รศ.ภาวดี สมภักดี เป็นผู้ขึ้นรับรางวัลแทน
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการประกวด POSTER PRESENTATION การประกวดผลงานนวัตกรรมเพื่อเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ปี 2559
นายก่อสกุล อึ้งสวัสดิ์ นางสาวเกวลี โตเต็มที่ และ นายพลวัฒน์ อุณฑพันธุ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในหัวข้อ Drone ราดตระเวนค้นหาวัตถุใต้พื้นและสิ่งกีดขวางโดย wireless X-ray Wireless X-ray Patrolling Drone และ นางสาวจุฑามาศ ธีระเรืองไชยศร นางสาวพิณภรณ์ ปานเดชา นายวรวัฒน์ สุรพันธ์ไพโรจน์ และ นายวิศิษฎ์ ทิพย์ชื่น ได้รับเกียรติบัตรชมเชยในหัวข้อ ระบบช่วยเล็งทางยุทธวิธีอัจฉริยะ Intelligent Tactical Aim System โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นพี่มาร์ช TA และ ดร.ปกป้อง ส่องเมือง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นายนพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จากการแข่งขัน Cisco Thailand NetRiders 2016
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ขอแสดงความยินดีกับทีมที่เข้าแข่งขัน “PRAGMA 31 Student Hackathon” เมื่อวันที่ 5-6 กันยายน 2559
TU-Team 1 โดยนายนพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจ นายวิศิษฐ์ ทิพย์ชื่น นายธนวิชญ์ ธนทวีโรจน์ และ นายทวีศิลป์ วงศ์รัชตโภคัย ได้รับรางวัล Best Troubleshooters
TU-Team 2 โดยนายพิชญ์ชาธร บำรุงศรี นายประพันธ์ศักดิ์ แก้วละมุลและนางสาวนันท์ณภัส บันลือสมบัติกูล ได้รับรางวัล Most creative application and deployment ready for PRAGMA testbed
TU-Team 3 นายราชนาวี แย้มประสงค์ นางสาวธนัญญา จอมทะรักษ์ นางสาวศุภมาส เดชเพิ่มสุข และ นางสาวลลิตา กรชูเดชได้รับรางวัล Best understanding of domain science application needs (biggest hurdle jumpers)
รางวัลพิเศษในการแข่งขัน the 2018 APAC HPC-AI Competition
ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม. ธรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.วรวรรณ ดีอัซ การ์บาโย และอ.ดร.ประภาพร รัตนธำรง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้เข้าร่วมการแข่งขัน the 2018 APAC HPC-AI Competition จัดโดย the HPC-AI Advisory Council ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในการวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน High Performance Computing (HPC) และ Artificial Intelligence (AI) จนถึงการนำเสนอผลงานแบบทางไกลกับคณะกรรมการ และได้รับรางวัลพิเศษในการนำเสนอทีมแบบวีดีโอในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย
รางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ดีเด่น อันดับที่ 3 ในการประชุม The PRAGMA34 Workshop Meeting
อ.ดร.ประภาพร รัตนธำรงและคณะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานจากวิชาโครงงานพิเศษที่การประชุมความร่วมมือวิจัยระดับนานาชาติ The PRAGMA34 Workshop ที่ Akihabara กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และนางสาวสุชานาถ มั่งคั่งเจริญ ได้รับรางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ดีเด่น อันดับที่ 3 จากผลงานเรื่อง ONE: Online Note Extraction to Music Cheat โดยมีรศ.ดร.เยาวดี เต็มธนาภัทร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561
รางวัลพิเศษในการแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย ประจำปี 2560 (The 2017 ACM-ICPC Asia Nakhon Pathom Regional Programming Contest)
ทีม CS_TU Conner ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลำปาง) ได้แก่ นายณัฐภัทร ตั้งนิยม นายจิรณัฏฐ์ ภู่จำรูญ นางสาวสิรินยาภรณ์ ทสุตา โดยมีอาจารย์ผู้ดูแลทีมคือ อ.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เข้าร่วมการแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย ประจำปี 2560 (The 2017 ACM-ICPC Asia Nakhon Pathom Regional Programming Contest) ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2560 ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับรางวัลพิเศษ 1 รางวัล
นักศึกษาได้รับรางวัลสนับสนุนค่าเดินทางไปแข่งขัน ACM-ICPC Thailand Central Group B Programming Contest 2016
ทีม Lnwza007 Science and Technology, Thammasat University โดย Mr. Wisit Tipcheun Mr. Ukkharawat Uimpanchai และ Mr. Visaruth Punnium และทีม Cookies Science and Technology, Thammasat University โดย Mr. Supachai Treeprateepkul Mr. Tanidpon Jaroenpod และ Mr. Ayuth Mangmesap ที่มี Dr. Prapaporn Rattanatamrong เป็นอาจารย์ผู้คุมทีม ได้รับรางวัลสนับสนุนค่าเดินทางไปแข่งขันทีมละ 6,000 บาท
นายวงศกร ทองถาวร ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและได้รับรางวัลเรียนดี “ทุนภูมิพล”
ฝ่ายวิชาการคณะฯ ขอแจ้งรายชื่อบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1, 2 และผู้ที่สมควรได้รับรางวัลเรียนดี “ทุนภูมิพล” คะแนนวิชาเอกสูงสุด ได้แก่ นายวงศกร ทองถาวร (รับตรง) เลขทะเบียน 550968061 คะแนนวิชาเอก 3.95 และ คะแนนเฉลี่ย 3.76 และได้รับเกียรตินิยมอันดับ “หนึ่ง” อีกด้วย ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีด้วย
ทีมจากนักศึกษาของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (TU CG lab) ได้รับรางวัล Judge’s Choice Award ในงาน Google HackFair Bangkok
ทีมจากนักศึกษาของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้ชื่อทีมว่า TU CG lab มีสมาชิกประกอบด้วย อ. ดร.พงศกรณ์ วิจิตเวชไพศาล นางสาววศินี ศรีประเสริฐ และนางสาวจิณห์วรา สุทธิปริญญานนท์ ได้ร่วมส่งผลงานและได้การตอบรับเพื่อให้มาแสดงผลงาน โดยมีชื่อผลงานว่า Augmented Reality using Tango Tablet เป็นโปรแกรมที่แสงภาพวัตถุจำลองเสมือนจริงสามมิติผสานกับภาพวิดิโอจากกล้องของตัวอุปกรณ์tablet
นายศิริศักดิ์ วิเศษเสนีย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น โครงการสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2556
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา นายศิริศักดิ์ วิเศษเสนีย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในโครงการสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2556 โดยทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสังเคราะห์ข้อมูลฝึกฝนอัตโนมัติสำหรับการรู้จำลายมือเขียนโดยวิธีการข้ามเชิงโครงสร้าง” และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ และ อาจารย์ ดร. สรรพฤทธิ์ มฤคทัต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นักศึกษา ปี 3 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แข่งขัน SCB young talent ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประกวดแผนธุรกิจ หัวข้อ Balance inquiry ในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประกวดออกแบบแผนธุรกิจ โครงการฝึกงาน SCB Young Talent จัดโดย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวปรัญญา จิตติบำรุงรักษ์ นางสาวนภวรรณ ดุษฎีเวทกุล นายวงศธร ทองถาวร และ นางสาววลียา ตาเดอินทร์ ภายใต้การดูแลของ อาจารย์ดร.ประภาพร รัตนธำรง คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และได้รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 60,000 บาทพร้อมโล่รางวัล
ขอแสดงยินดีกับนายเทอดเกียรติ บุญเที่ยง ได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น หรือสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ นายเทอดเกียรติ บุญเที่ยง นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้สมควรได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น หรือสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556 ได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น ประเภทบุคคล ด้านกีฬา ได้รางวัลเหรียญทอง จากการเล่นกีฬาฟุตบอล 5 คน ประเภทพิการทางสายตา (B1) กีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 กรุงเนปิดอว์ ประเทศพม่า และ รางวัลเหรียญทองแดง จากการเล่นกีฬาฟุตบอล 5 คน ประเภทพิการทางสายตา (B1) กีฬาไทยแลนด์โอเพีน และเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันกีฬาคนตาบอดชิงแชมป์โลก เมืองแอนเทนน่า ประเทศตุรกี