เปลี่ยนภาษา:  English

หลักสูตรปริญญาโท

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ)

ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 2 ปี
ภาคพิเศษ จำนวนรับเข้า: 25 คน
ภาคปกติ จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นจากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
  • หากผู้ที่ได้รับเข้าศึกษาและยังมีพื้นฐานทางสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ผู้เข้าศึกษาอาจถูกพิจารณาให้ศึกษาเพิ่มเติมรายวิชาเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยไม่นับหน่วยกิต

การรับเข้าศึกษา:

ผู้สมัครสามารถสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่ เว็บไซต์รับเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะฯ

โครงสร้างหลักสูตร:

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต เลือกศึกษาได้ 2 แผน

  • แผน ก แบบ ก2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
    • หมวดวิชาบังคับ             15 หน่วยกิต 
    • หมวดวิชาเลือก               9 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์                    12 หน่วยกิต
  • แผน ข (ศึกษารายวิชาและทำสารนิพนธ์)
    • หมวดวิชาบังคับ             15 หน่วยกิต 
    • หมวดวิชาเลือก              15 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์                     9 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ในการศึกษาตลอดหลักสูตร 2 ปี

    โครงการปกติ 94,400 บาท
    (แบบเหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 23,600 บาท)
    โครงการพิเศษ 184,700 บาท

สถานที่ศึกษา:

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารบรรยายรวม 2
Department of Computer Science, Learning Center 2 Building, Faculty of Science and Technology
Thammasat University (Rangsit Campus)

ติดต่อหลักสูตร:

โครงการปริญญาโทภาคพิเศษ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  master@cs.tu.ac.th
  02-986-9157
  http://www.cs.tu.ac.th/
  Thammasat Computer Science

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงการพิเศษ เรียนเฉพาะวัน เสาร์-อาทิตย์ มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดดเด่นทางด้านวิชาการด้วยการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีความสำคัญต่อทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเสริมสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทั้งในการวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ สร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้ทันต่อสถานการณ์โลก และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งอาชีพในสายวิชาการและการวิจัย อาชีพในภาคอุตสาหกรรม เช่น นักดูแลระบบและเครือข่าย นักวิเคราะห์และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ทั้งเว็บแอปพลิเคชัน หรือโมบายแอปพลิเคชัน ผู้ประกอบการ Tech Start up ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาระบบอัจฉริยะต่างๆ

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเชิงลึกทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสาขาเฉพาะทางได้แก่ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาสร้างสรรค์งานวิจัยใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งเพิ่มพูนความสามารถทางสายอาชีพในภาคอุตสาหกรรม

ผู้เรียนที่มีความสนใจในอาชีพทางสายวิจัย หรือศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตสามารถเลือกศึกษาในแผนที่เน้นการวิจัยเพื่อฝึกทักษะในการคิดค้น และทดลองให้เกิดความรู้ใหม่ ในขณะที่ผู้เรียนที่มีความสนใจในอาชีพทางภาคอุตสาหกรรมสามารถเลือกศึกษาในแผนที่เน้นการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้งานจริง

หัวข้องานวิจัย

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มีผู้เชี่ยวชาญในงานวิจัยหลากหลายด้านได้แก่

  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ (Computer Network and System Software)
  • ความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Security)
  • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การประมวลผลและวิเคราะห์ภาพ (Image Processing and Analysis)
  • การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
  • วิทยาการข้อมูล (Data Science)
  • ประสบการณ์ผู้ใช้ระบบ (User Experience) และ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ (Human-computer Interaction)
  • เส้นทางอาชีพในอนาคต

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • กลุ่ม 1 อาชีพในสายวิชาการและการวิจัย
      • นักวิจัย
      • นักวิชาการ
      • ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
    • กลุ่ม 2 อาชีพในภาคอุตสาหกรรม
      • นักพัฒนาซอฟต์แวร์
      • สถาปนิกซอฟต์แวร์
      • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
      • นักทดสอบระบบ
      • วิศวกรเครือข่าย หรือวิศวกรระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
      • วิศวกรด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์
      • นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้
      • ผู้ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง

    พื้นฐานสำคัญจริงๆ ทำให้เรามีต้นทุนการต่อยอดได้เร็วหรือช้าต่างจากคนอื่น

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงการพิเศษ เรียนเฉพาะวัน เสาร์-อาทิตย์ มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดดเด่นทางด้านวิชาการด้วยการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีความสำคัญต่อทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเสริมสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทั้งในการวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ สร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้ทันต่อสถานการณ์โลก และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งอาชีพในสายวิชาการและการวิจัย อาชีพในภาคอุตสาหกรรม เช่น นักดูแลระบบและเครือข่าย นักวิเคราะห์และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ทั้งเว็บแอปพลิเคชัน หรือโมบายแอปพลิเคชัน ผู้ประกอบการ Tech Start up ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาระบบอัจฉริยะต่างๆ

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเชิงลึกทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสาขาเฉพาะทางได้แก่ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาสร้างสรรค์งานวิจัยใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งเพิ่มพูนความสามารถทางสายอาชีพในภาคอุตสาหกรรม

    ผู้เรียนที่มีความสนใจในอาชีพทางสายวิจัย หรือศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตสามารถเลือกศึกษาในแผนที่เน้นการวิจัยเพื่อฝึกทักษะในการคิดค้น และทดลองให้เกิดความรู้ใหม่ ในขณะที่ผู้เรียนที่มีความสนใจในอาชีพทางภาคอุตสาหกรรมสามารถเลือกศึกษาในแผนที่เน้นการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้งานจริง

    หัวข้องานวิจัย

    สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มีผู้เชี่ยวชาญในงานวิจัยหลากหลายด้านได้แก่

  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ (Computer Network and System Software)
  • ความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Security)
  • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การประมวลผลและวิเคราะห์ภาพ (Image Processing and Analysis)
  • การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
  • วิทยาการข้อมูล (Data Science)
  • ประสบการณ์ผู้ใช้ระบบ (User Experience) และ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ (Human-computer Interaction)
  • เส้นทางอาชีพในอนาคต

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • กลุ่ม 1 อาชีพในสายวิชาการและการวิจัย
      • นักวิจัย
      • นักวิชาการ
      • ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
    • กลุ่ม 2 อาชีพในภาคอุตสาหกรรม
      • นักพัฒนาซอฟต์แวร์
      • สถาปนิกซอฟต์แวร์
      • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
      • นักทดสอบระบบ
      • วิศวกรเครือข่าย หรือวิศวกรระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
      • วิศวกรด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์
      • นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้
      • ผู้ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง

    พื้นฐานสำคัญจริงๆ ทำให้เรามีต้นทุนการต่อยอดได้เร็วหรือช้าต่างจากคนอื่น

    ภาษาไทย ภาคพิเศษ
    ระยะเวลา: 2 ปี
    จำนวนรับเข้า: 25 คน

    คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นจากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
    • หากผู้ที่ได้รับเข้าศึกษาและยังมีพื้นฐานทางสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ผู้เข้าศึกษาอาจถูกพิจารณาให้ศึกษาเพิ่มเติมรายวิชาเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยไม่นับหน่วยกิต

    การรับเข้าศึกษา:

    ผู้สมัครสามารถสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่ เว็บไซต์รับเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะฯ

    โครงสร้างหลักสูตร:

    หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
    จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต เลือกศึกษาได้ 2 แผน

    • แผน ก แบบ ก2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
      • หมวดวิชาบังคับ             15 หน่วยกิต 
      • หมวดวิชาเลือก               9 หน่วยกิต
      • วิทยานิพนธ์                    12 หน่วยกิต
    • แผน ข (ศึกษารายวิชาและทำสารนิพนธ์)
      • หมวดวิชาบังคับ             15 หน่วยกิต 
      • หมวดวิชาเลือก              15 หน่วยกิต
      • วิทยานิพนธ์                     9 หน่วยกิต

    ค่าเล่าเรียน:

    • ในการศึกษาตลอดหลักสูตร 2 ปี
      รวมเป็นเงินทั้งสินโดยประมาณ 200,000 บาท

    สถานที่ศึกษา:

    สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารบรรยายรวม 2
    Department of Computer Science, Learning Center 2 Building, Faculty of Science and Technology
    Thammasat University (Rangsit Campus)

    ติดต่อหลักสูตร:

    โครงการปริญญาโทภาคพิเศษ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
      master@cs.tu.ac.th
      02-986-9157
      http://www.cs.tu.ac.th/
      Thammasat Computer Science

    สมัครเลย หลักสูตรปริญญาโท พร้อมรับสิทธิพิเศษ

    กรอกข้อมูล และช่องทางการติดต่อของคุณเพื่อรับคําปรึกษาเรื่องหลักสูตรการสมัครเรียนภาคพิเศษโดยตรงกับทีมแอดมิน CSTU พร้อมรับข้อมูลทุนการศึกษาและสิทธิพิเศษที่สําหรับนักศึกษาปริญญาโท พิเศษแค่ที่ธรรมศาสตร์เท่านั้น