เปลี่ยนภาษา:  English

.

เครือข่ายความร่วมมือ

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้ความสำคัญกับการมีความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับผลงานให้เป็นที่รู้จัก และก้าวไปสู่ความเป็นแนวหน้าในระดับสากล ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย รวมทั้งเป็นการพัฒนาบัณฑิตของหลักสูตรให้มีความพร้อมในการทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น สาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) กับสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ อาทิ โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญ และวิทยากรจากสถาบันและองค์กรต่างๆ มาบรรยายพิเศษ ร่วมสอน ร่วมวิจัย และเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม โครงการจัดการประชุมสัมมนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษาเพื่อทำวิจัย ฝึกอบรม ดูงาน สหกิจ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โครงการทำวิจัยและตีพิมพ์ผลงานร่วมกันระหว่างคณาจารย์ภายในคณะฯ กับคณาจารย์ต่างสถาบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

  • สถาบันในประเทศที่มีความร่วมมือ
  • สถาบันในต่างประเทศที่มีความร่วมมือ

นายภีมภัช พจน์สุนทร นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้มีโอกาเข้าร่วม International Summer Course CSAgri IPB 2022 จัดโดย Institut Pertanian Bogor (IPB) ประเทศอินโดนีเซีย  
ระหว่างวันที่ 9 ถึง 17 กันยายน 2565 สำหรับกิจกรรม Summer Course ที่ถูกจัดขึ้นในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นถึงความสำคัญของเกษตรกรรมและการนำ IoT เข้า มาใช้โดยภายในโครงการจะมีศาสตร์จารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ามา อธิบายในด้านของเกษตรกรรม สอนและอธิบายให้เข้าใจในหลายหัวข้อที่ควรจะทราบสอนใช้ Arduino และเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแชร์ประสบการณ์การทำ Project การทำวิจัยที่เคยทำมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดแรงบันดาลใจ ซึ่งในกิจกรรมนี้นายภีมภัช พจน์สุนทร ได้รับรางวัล Best International Participant จากการเข้าร่วมในธีม Computer Science for Agriculture: IoT for Smart Urban Farming

นางสาวเปมิกา ศรีโมรา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้รับโอกาสในการเข้าร่วม International Summer Research Program หรือ ISRP ที่จัดขึ้นที่ University of California, San Diego หรือ UCSD ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2565 ถึง 27 สิงหาคม 2565 นักศึกษาได้รับทุนสนับสนุน Outbound จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยตลอดเวลาทั้ง 9 สัปดาห์ นักศึกษาจะได้ลงมือศึกษาพื้นฐานการควบคุมหุ่นยนต์ด้วย ROS ร่วมกับระบบ Marvelmind ทำการตั้งค่า วางระบบ และเขียนโค้ดเพื่อให้หุ่นยนต์ Turtlebot นั้นเดินไปตามตำแหน่งที่ต้องการอย่างอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้ถึงขั้นที่วางแผนไว้เบื้องต้นแต่ในส่วนนี้จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในอนาคตรเพื่อประโยชน์ในแห่งธุรกิจ Logistic และการใช้หุ่นยนต์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ นอกจากนั้นนักศึกษายังได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิตการสื่อสารในทีม การแก้ปัญหาการเอาชนะความกลัว ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาในอนาคต

นายธนกฤต ยืนยงพิสิฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้เข้าร่วม International Summer Course CSAgri IPB 2022 จัดโดย Institut Pertanian Bogor (IPB) ประเทศอินโดนีเซีย  ระหว่างวันที่ 9 ถึง 17 กันยายน 2565 กิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป
แต่ focus หลักจะอยู่ที่การใช้งาน IOT ร่วมกับ Agriculture ซึ้งเป็น project หลักของ course นี้ ในแง่ของ knowledge นักศึกษาจะได้ความรู้เรื่อง IOT ,Machine learning , AI,Agriculture
ได้รับความรู้หรือแนวคิดใหม่ๆเพื่อนำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตอีกด้วย

บริษัท KBTG จำกัด  นำทีมผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำบริษัท และแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ให้แก่นักศึกษาในโครงการ KBTG University Roadshow เมื่อวันที่ ตุลาคม 2563 

ธีรานนท์ (เจมส์) ศิษย์เก่ารุ่น x หัวข้อ Technopreneur เพื่อน้องๆ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ผศ.ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ อาจารย์ ดร.ประภาพร รัตนธำรง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์  หารือแลกเปลี่ยนความเป็นไปได้ในการความร่วมมือด้านการศึกษากับ Mr. Cormac Kavanagh, Senior Education Consultant Ms. Andrea Ryan, the Regional Recruitment Officer และ Ms. Elizabeth McHenry, Manager จาก Technological University Dublin ประเทศ Ireland ณ ห้องรับรอง อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

บริษัท King Power Click นายยุทธนา บุญปาลิต และนายศิวกร สุวรรณจินดา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ แลกเปลี่ยนทำวิจัยที่สถาบัน The National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่ Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 17 สิงหาคม 2563

บริษัท Feed Ingredients Trading Business Group (C.P. Group) จำกัด  วันที่ 24 ก.พ. 63 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จัดงานสัมมนา เรื่อง Democratizing A.I. – How a computer scientist can help narrow social inequality โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรจากบริษัท Feed Ingredients Trading Business Group (C.P. Group) จำกัด มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล เพื่อพัฒนาโมเดลวิเคราะห์ผลกระทบต่อ supply&demand ของสินค้าเกษตร

Technological University Dublin, ประเทศไอร์แลน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ผศ.ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ อาจารย์ ดร.ประภาพร รัตนธำรง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์  หารือแลกเปลี่ยนความเป็นไปได้ในการความร่วมมือด้านการศึกษากับ Mr. Cormac Kavanagh, Senior Education Consultant Ms. Andrea Ryan, the Regional Recruitment Officer และ Ms. Elizabeth McHenry, Manager จาก Technological University Dublin ประเทศ Ireland ณ ห้องรับรอง อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

AIST ประเทศญี่ปุ่น นายยุทธนา บุญปาลิต และนายศิวกร สุวรรณจินดา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ แลกเปลี่ยนทำวิจัยที่สถาบัน The National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่ Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 17 สิงหาคม 2563