คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ แอพพลิเคชัน“ดริ๊งเซฟ” ใช้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด -รู้เวลาสร่างเมา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ แอพพลิเคชัน“ดริ๊งเซฟ” ใช้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 4 โดยแอพฯ ดังกล่าว สามารถใช้งานได้ง่ายใน 1 ขั้นตอน เพียงแค่ “เป่าลมหายใจ 5 วิ” เข้าไปที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที
พร้อมระบุช่วงเวลาที่ผู้ใช้จะสร่างเมาในทุกๆ ชั่วโมง รวมถึงช่วงเวลาที่สามารถขับขี่รถยนต์กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกขอความช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการขับขี่ ได้ใน 2 ช่องทาง คือ ติดต่อเพื่อน และ เรียกแท็กซี่..
ทั้งนี้ แอปฯ ดังกล่าว อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อให้ สามารถประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ช่วงอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่ 2560 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสู งกว่าปีที่ผ่านมาถึง 17.7% และ 25.7% ตามลำดับ
นายทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า สำหรับแอปริเคชันนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เสริมที่เป็นเซ็นเซอร์ สำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Sensor) เชื่อมต่อกับระบบประมวลผล Arduino โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ใน 1 ขั้นตอน เพียง “เป่าลมหายใจ เป็นเวลา 5 วินาที” เข้าไปที่เครื่องวัดแอลกอฮล์ที่ มีการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที ว่าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ที่เกิน มาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่ (โดยต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)
ขณะเดียวกัน แอพลิเคชันยังสามารถใช้คำนวณอัตราการลดระดับของแอลกอฮล์ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงระยะเวลาที่ ตนจะสร่างเมา และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากเป่าลมหายใจ แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 62 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในเวลา 2.52 น. จะพร้อมขับขี่ได้ในเวลา 6.52 น. เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากในกรณีที่แอพลิเคชันประเมินแล้วว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกิน กำหนด จะทำการแสดงฟังก์ชั่นในการเลี่ย งการขับขี่แก่ผู้ใช้งานใน 2 ทางเลือก คือ
1) ติดต่อเพื่อน โดยแอปฯ จะทำหน้าที่เชื่อมกับสังคมออนไลน์อย่าง.เฟซบุ๊ก พร้อมทั้งแสดงรายชื่อเพื่อนที่มี ประวัติการใช้งานแอพลิเคชันและมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำ กว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
2) เรียกแท็กซี่ เพื่อใช้บริการรถแท็กซี่สาธารณะ ทั้งนี้ แอพลิเคชันดังกล่าว ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาร่วม 4-5 เดือน และมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 2,000 บาท โดยเวลาการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ในการทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระดับแอลกอฮอล์กับค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเพื่อให้เกิดความแม่นยำ
ที่มา ..http://www.posttoday.com/social/edu/501855