เปลี่ยนภาษา:  English

หลักสูตรปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรทวิภาษา)

ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3  ปี
จำนวนรับเข้า: 5 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1. สำเร็จปริญญาโททั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
  • หากไม่ได้สำเร็จปริญญาโทในสาขาวิชาตามข้อที่แล้ว ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
    ก. สำเร็จการศึกษา ปริญญาใดปริญญาหนึ่งทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาตามข้อ 1.1 หรือ
    ข. มีประสบการณ์ทำงาน ไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือมีผลงานวิชาการ เช่น รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ

2. ต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 (ในค่าระดับสูงสุด 4.00) หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกโดยกรรมการจะพิจารณาจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (Peer Review) และคณะกรรมการบริหารโครงการปริญญาเอกลงมติเอกฉันท์ยอมรับผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพและสะท้อนความรู้ความเข้าใจในการศึกษาทำวิจัยต่อในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้

3. สำหรับผู้สมัครที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญา มหาบัณฑิตที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญามหาบัณฑิต อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยอาจเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้ร่วมวิจัยก็ได้ หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกโดยกรรมการจะพิจารณาจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (Peer Review) และคณะกรรมการบริหารโครงการปริญญาเอกลงมติเอกฉันท์ยอมรับผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพและ สะท้อนความรู้ความเข้าใจในการศึกษาทำวิจัยต่อในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้

4. ต้องมีส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ Internet-based TOEFL ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน หรือ IELTS ในระดับ 6.5 ขึ้นไป (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) หรือได้ผลการทดสอบภาษาต่างประเทศเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศ
ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด อาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษาก่อนได้ ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องสอบให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากระเบียนนักศึกษา

5. ผู้เข้าศึกษาต้องมีบทความแสดงหัวข้อวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโครงการปริญญาเอก

6. ผู้เข้าศึกษาต้องมีจดหมายรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ฉบับ

7. เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่่เป็นไปตามเกณฑ์ ข้อ 1.- 4. จะสามารถสมัครได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกก่อนเท่านั้น

การรับเข้าศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1

  • วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แผนการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1

  • วิชาบังคับ 8 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 27,300 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

02-986-9157, คุณพัชรัตน์ มีมะโน 0-2564-4440-59 ต่อ 2157 ต่อ 114
  https://www.cs.sci.tu.ac.th/
  Thammasat Computer Science

หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ออกแบบให้ตอบรับกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของวิทยาการคอมพิวเตอร์ในหลากหลายด้าน เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ และพร้อมจะเป็นผู้นำในการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป หลักสูตรมีแผนการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบที่ไม่มีการศึกษารายวิชา เน้นการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ และ แบบที่มีการศึกษารายวิชาร่วมกับการทำวิทยานิพนธ์ นอกจากนักศึกษาจะได้ฝึกฝนระเบียบวิธีวิจัยสำหรับหัวข้อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนเชิงวิชาการ และการสัมมนาอภิปรายจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว หลักสูตรมีรายวิชาในหลากหลายหมวดวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาเชิงลึกได้ตามความสนใจ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย วิทยาการข้อมูล อีกด้วย

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ออกแบบโดยคณาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • ด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Computer and Network Systems)
  • ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science)
  • ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดรับกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรมีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และพร้อมจะเป็นผู้นำในการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ

หลักสูตรมีแผนการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบ 1.1 ซึ่งไม่มีการศึกษารายวิชา เน้นการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ และ แบบ 2.1 ซึ่งมีการศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งนักศึกษาทั้งสองแบบจะต้องศึกษาเต็มเวลา มีระยะเวลาในการศึกษาอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติ

นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนระเบียบวิธีวิจัยสำหรับหัวข้อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนเชิงวิชาการ และการสัมมนาอภิปรายองค์ความรู้และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจากงานวิจัยระดับนานาชาติ และมีวิชาที่สามารถเลือกศึกษาเชิงลึกได้ตามความสนใจในหลากหลายหมวดวิชา ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย วิทยาการข้อมูล ตัวอย่างรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น

  • เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things Technologies)
  • ระบบความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไซเบอร์ (Cyber Security and Privacy)
  • การคำนวณเชิงขนานและการคำนวณแบบเร่งความเร็ว (Parallel and Accelerated Computing)
  • การประมวลผลแบบเมฆและการสร้างระบบทางคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์แบบกำหนด (Cloud Computing and Software-Defined Infrastructure)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เน้นการใช้แบบจำลอง (Model-based Software Engineering)
  • วิศวกรรมประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ (User Experience Engineering)
  • ทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Vision)
  • ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง (Advanced Artificial Intelligence)
  • การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Storage and Analytics)
หัวข้องานวิจัย
• Artificial Intelligence and Machine Learning
• Data Science and Visualization
• Cloud Computing
• Computer Vision and Image Analysis
• High Performance Computing
• Computer Networks
• Human Computer Interaction (UI/UX)
• Scalable and Fault Tolerant Distributed Systems
• Mobile and Edge Computing
• Software Engineering
• Information Systems and Databases

โอกาสในการแลกเปลี่ยนวิจัย

นักศึกษาสามารถไปแลกเปลี่ยนทำวิจัยกับอาจารย์ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่มีความร่วมมือกับคณาจารย์ในหลักสูตร อาทิ NECTEC ประเทศไทย, INESC TEC ประเทศโปรตุเกส, AIST ประเทศญี่ปุ่น, NCHC ประเทศไต้หวัน, UCSD และ UF ประเทศสหรัฐอเมริกา

เส้นทางอาชีพในอนาคต

  • Computer Scientists and Researchers
  • University Lecturers
  • System Analysts
  • Software Developers
  • IT specialists
  • Managers of an IT Project
  • Managers of a Software Development Project
  • Managers of an IT department
  • Consultants
  • Big Data Analysts
  • System Administrators for Cloud Data Center or large-scale computer systems
  • Software Engineers
  • Data Recovery Engineers
เข้มข้นทั้งด้านวิชาการ และประสบการณ์งานวิจัย

หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ออกแบบให้ตอบรับกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของวิทยาการคอมพิวเตอร์ในหลากหลายด้าน เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ และพร้อมจะเป็นผู้นำในการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป หลักสูตรมีแผนการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบที่ไม่มีการศึกษารายวิชา เน้นการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ และ แบบที่มีการศึกษารายวิชาร่วมกับการทำวิทยานิพนธ์ นอกจากนักศึกษาจะได้ฝึกฝนระเบียบวิธีวิจัยสำหรับหัวข้อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนเชิงวิชาการ และการสัมมนาอภิปรายจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว หลักสูตรมีรายวิชาในหลากหลายหมวดวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาเชิงลึกได้ตามความสนใจ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย วิทยาการข้อมูล อีกด้วย

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ออกแบบโดยคณาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • ด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Computer and Network Systems)
  • ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science)
  • ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดรับกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรมีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และพร้อมจะเป็นผู้นำในการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ

หลักสูตรมีแผนการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบ 1.1 ซึ่งไม่มีการศึกษารายวิชา เน้นการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ และ แบบ 2.1 ซึ่งมีการศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งนักศึกษาทั้งสองแบบจะต้องศึกษาเต็มเวลา มีระยะเวลาในการศึกษาอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติ

นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนระเบียบวิธีวิจัยสำหรับหัวข้อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนเชิงวิชาการ และการสัมมนาอภิปรายองค์ความรู้และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจากงานวิจัยระดับนานาชาติ และมีวิชาที่สามารถเลือกศึกษาเชิงลึกได้ตามความสนใจในหลากหลายหมวดวิชา ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย วิทยาการข้อมูล ตัวอย่างรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น

  • เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things Technologies)
  • ระบบความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไซเบอร์ (Cyber Security and Privacy)
  • การคำนวณเชิงขนานและการคำนวณแบบเร่งความเร็ว (Parallel and Accelerated Computing)
  • การประมวลผลแบบเมฆและการสร้างระบบทางคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์แบบกำหนด (Cloud Computing and Software-Defined Infrastructure)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เน้นการใช้แบบจำลอง (Model-based Software Engineering)
  • วิศวกรรมประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ (User Experience Engineering)
  • ทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Vision)
  • ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง (Advanced Artificial Intelligence)
  • การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Storage and Analytics)
หัวข้องานวิจัย
• Artificial Intelligence and Machine Learning
• Data Science and Visualization
• Cloud Computing
• Computer Vision and Image Analysis
• High Performance Computing
• Computer Networks
• Human Computer Interaction (UI/UX)
• Scalable and Fault Tolerant Distributed Systems
• Mobile and Edge Computing
• Software Engineering
• Information Systems and Databases

โอกาสในการแลกเปลี่ยนวิจัย

นักศึกษาสามารถไปแลกเปลี่ยนทำวิจัยกับอาจารย์ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่มีความร่วมมือกับคณาจารย์ในหลักสูตร อาทิ NECTEC ประเทศไทย, INESC TEC ประเทศโปรตุเกส, AIST ประเทศญี่ปุ่น, NCHC ประเทศไต้หวัน, UCSD และ UF ประเทศสหรัฐอเมริกา

เส้นทางอาชีพในอนาคต
  • Computer Scientists and Researchers
  • University Lecturers
  • System Analysts
  • Software Developers
  • IT specialists
  • Managers of an IT Project
  • Managers of a Software Development Project
  • Managers of an IT department
  • Consultants
  • Big Data Analysts
  • System Administrators for Cloud Data Center or large-scale computer systems
  • Software Engineers
  • Data Recovery Engineers
เข้มข้นทั้งด้านวิชาการ และประสบการณ์งานวิจัย
ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3  ปี
จำนวนรับเข้า: 5 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1. สำเร็จปริญญาโททั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
  • หากไม่ได้สำเร็จปริญญาโทในสาขาวิชาตามข้อที่แล้ว ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
    ก. สำเร็จการศึกษา ปริญญาใดปริญญาหนึ่งทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาตามข้อ 1.1 หรือ
    ข. มีประสบการณ์ทำงาน ไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือมีผลงานวิชาการ เช่น รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ

2. ต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 (ในค่าระดับสูงสุด 4.00) หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกโดยกรรมการจะพิจารณาจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (Peer Review) และคณะกรรมการบริหารโครงการปริญญาเอกลงมติเอกฉันท์ยอมรับผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพและสะท้อนความรู้ความเข้าใจในการศึกษาทำวิจัยต่อในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้

3. สำหรับผู้สมัครที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญา มหาบัณฑิตที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญามหาบัณฑิต อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยอาจเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้ร่วมวิจัยก็ได้ หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกโดยกรรมการจะพิจารณาจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (Peer Review) และคณะกรรมการบริหารโครงการปริญญาเอกลงมติเอกฉันท์ยอมรับผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพและ สะท้อนความรู้ความเข้าใจในการศึกษาทำวิจัยต่อในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้

4. ต้องมีส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ Internet-based TOEFL ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน หรือ IELTS ในระดับ 6.5 ขึ้นไป (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) หรือได้ผลการทดสอบภาษาต่างประเทศเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศ
ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด อาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษาก่อนได้ ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องสอบให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากระเบียนนักศึกษา

5. ผู้เข้าศึกษาต้องมีบทความแสดงหัวข้อวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโครงการปริญญาเอก

6. ผู้เข้าศึกษาต้องมีจดหมายรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ฉบับ

7. เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่่เป็นไปตามเกณฑ์ ข้อ 1.- 4. จะสามารถสมัครได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกก่อนเท่านั้น

โครงสร้างหลักสูตร:

แผนการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1

  • วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แผนการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1

  • วิชาบังคับ 8 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 27,300 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-986-9157, คุณพัชรัตน์ มีมะโน 0-2564-4440-59 ต่อ 2157 ต่อ 114
  http://www.cs.tu.ac.th/
  Thammasat Computer Science