เปลี่ยนภาษา:  English

หลักสูตรปริญญาตรี

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ)

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 70 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจาก
    ประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกัน
    ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า
    9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยี ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และแอปพลิเคชันครบทั้งกระบวนการ การออกแบบและดูแลระบบสารสนเทศและเครือข่ายเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI หรือ Data Science กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตรงใจผู้ติดตามทั้งหลาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอก “คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ” จัดการเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งทฤษฎีออโตมาตา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และ Network ในแนวกว้างอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างพื้นฐานอันเข้มแข็งให้ผู้เรียนสามารถไปต่อยอดด้านเฉพาะทางในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนา การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก

นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีอิสระในการออกแบบวิชาเลือกเฉพาะทางเหล่านี้ได้ตามความเชี่ยวชาญหรือความสนใจเป็นวิชาโท ได้แก่ การสื่อสารข้อมูลและการบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมและการจัดการซอฟต์แวร์
และวิทยาการข้อมูล โดยเนื้อหาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะที่ทุกองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการสร้าง
งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ซึ่งผู้เรียนซึ่งอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรนี้ได้เช่นเดียวกัน

การฝึกงานหรือสหกิจ

ในทุกวิชาเอกนักศึกษาสามารถฝึกงานหรือทำสหกิจ ในองค์กรชั้นนำต่างๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บแอปพลิเคชัน เกม โปรแกรมระบบต่างๆ
  • นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ (IT System Analyst and Architect)
  • นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ (Marketing and Business Analyst)
  • นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ (Innovation and Smart Solution Architect)
  • นักออกแบบ UI/UX (UI/UX Designer)
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย หรือระบบศูนย์ข้อมูล (Network Administrator, Server Administrator or Data Center Administrator) 
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator)
  • วิศวกรระบบคลาวด์ (Cloud Engineer)
  • ผู้พัฒนาบริการบนคลาวด์ (Cloud-based Service Developer)

พื้นฐานสำคัญจริงๆ ทำให้เรามีต้นทุนการต่อยอดได้เร็วหรือช้าต่างจากคนอื่น

ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยี ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และแอปพลิเคชันครบทั้งกระบวนการ การออกแบบและดูแลระบบสารสนเทศและเครือข่ายเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI หรือ Data Science กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตรงใจผู้ติดตามทั้งหลาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอก “คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ” จัดการเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งทฤษฎีออโตมาตา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และ Network ในแนวกว้างอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างพื้นฐานอันเข้มแข็งให้ผู้เรียนสามารถไปต่อยอดด้านเฉพาะทางในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนา การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก

นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีอิสระในการออกแบบวิชาเลือกเฉพาะทางเหล่านี้ได้ตามความเชี่ยวชาญหรือความสนใจเป็นวิชาโท ได้แก่ การสื่อสารข้อมูลและการบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมและการจัดการซอฟต์แวร์
และวิทยาการข้อมูล โดยเนื้อหาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะที่ทุกองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการสร้าง
งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ซึ่งผู้เรียนซึ่งอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรนี้ได้เช่นเดียวกัน

การฝึกงานหรือสหกิจ

ในทุกวิชาเอกนักศึกษาสามารถฝึกงานหรือทำสหกิจ ในองค์กรชั้นนำต่างๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บแอปพลิเคชัน เกม โปรแกรมระบบต่างๆ
  • นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ (IT System Analyst and Architect)
  • นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ (Marketing and Business Analyst)
  • นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ (Innovation and Smart Solution Architect)
  • นักออกแบบ UI/UX (UI/UX Designer)
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย หรือระบบศูนย์ข้อมูล (Network Administrator, Server Administrator or Data Center Administrator) 
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator)
  • วิศวกรระบบคลาวด์ (Cloud Engineer)
  • ผู้พัฒนาบริการบนคลาวด์ (Cloud-based Service Developer)

พื้นฐานสำคัญจริงๆ ทำให้เรามีต้นทุนการต่อยอดได้เร็วหรือช้าต่างจากคนอื่น

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 70 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจาก
    ประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกัน
    ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า
    9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร: