เปลี่ยนภาษา: English
หลักสูตรปริญญาตรี
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ประยุกต์)
ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 70 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจากประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- ค่าหน่วยกิตละ 1,200 บาท
- ค่าธรรมเนียมพิเศษ 25,000 บาท (เฉพาะปีแรก)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-986-9157
http://www.cs.tu.ac.th/
Cstu Hotnews
หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยเน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ตลาดแรงงาน IT ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย
คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรภาคพิเศษนี้คือเอก ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาคทฤษฎีแบบกระชับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ สำหรับการพัฒนาต่อยอดในแนวทางที่ผู้เรียนสนใจเฉพาะด้าน โดยมีวิชาเลือกหลากหลายที่เน้นการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น
- หลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ (Software Process)
- การทดสอบซอฟต์แวร์และระบบ (Testing)
- การดูแลรักษาระบบเครือข่ายและระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Network, System and Infrastructure Admin)
- วิทยาการข้อมูล (Data science)
- บริการบนอินเตอร์เน็ตแบบขยายขนาดได้ (Scalable Internet Services)
- การบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร (Management of Information System)
ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย ผู้ที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ สามารถต่อยอดในสายอาชีพต่าง ๆ ได้จำนวนมาก ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ ฯลฯ
นอกจากนี้ผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรจะมีโอกาสที่จะได้ไปฝึกงานหรือสหกิจศึกษาในองค์กรชั้นนำของภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจ ได้สัมผัสประสบการณ์จริงก่อนออกไปสู่โลกการทำงาน รวมทั้งสามารถสอบใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรองความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับว่าพร้อมออกไปทำงานในสายงานนั้น ๆ ได้ทันทีอีกด้วย ทำให้หลายๆ องค์กรโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมต่างก็เตรียมจับจองบัณฑิตในวิชาเอกนี้ไปทำงานด้วยตั้งแต่ยังเรียนไม่จบกันเลยทีเดียว
การฝึกงานหรือสหกิจ
นักศึกษาสามารถฝึกงานหรือทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
- นักวิทยาการข้อมูล
- นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ
- นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ
- นักทดสอบซอฟต์แวร์
- นักออกแบบ UI/UX
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์
- ผู้จัดการและผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยเน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ตลาดแรงงาน IT ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย
คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรภาคพิเศษนี้คือเอก ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาคทฤษฎีแบบกระชับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ สำหรับการพัฒนาต่อยอดในแนวทางที่ผู้เรียนสนใจเฉพาะด้าน โดยมีวิชาเลือกหลากหลายที่เน้นการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น
- หลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ (Software Process)
- การทดสอบซอฟต์แวร์และระบบ (Testing)
- การดูแลรักษาระบบเครือข่ายและระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Network, System and Infrastructure Admin)
- วิทยาการข้อมูล (Data science)
- บริการบนอินเตอร์เน็ตแบบขยายขนาดได้ (Scalable Internet Services)
- การบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร (Management of Information System)
ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย ผู้ที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ สามารถต่อยอดในสายอาชีพต่าง ๆ ได้จำนวนมาก ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ ฯลฯ
นอกจากนี้ผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรจะมีโอกาสที่จะได้ไปฝึกงานหรือสหกิจศึกษาในองค์กรชั้นนำของภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจ ได้สัมผัสประสบการณ์จริงก่อนออกไปสู่โลกการทำงาน รวมทั้งสามารถสอบใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรองความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับว่าพร้อมออกไปทำงานในสายงานนั้น ๆ ได้ทันทีอีกด้วย ทำให้หลายๆ องค์กรโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมต่างก็เตรียมจับจองบัณฑิตในวิชาเอกนี้ไปทำงานด้วยตั้งแต่ยังเรียนไม่จบกันเลยทีเดียว
การฝึกงานหรือสหกิจ
นักศึกษาสามารถฝึกงานหรือทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
- นักวิทยาการข้อมูล
- นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ
- นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ
- นักทดสอบซอฟต์แวร์
- นักออกแบบ UI/UX
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์
- ผู้จัดการและผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 70 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจากประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- ค่าหน่วยกิตละ 1,200 บาท
- ค่าธรรมเนียมพิเศษ 25,000 บาท (เฉพาะปีแรก)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-986-9157
http://www.cs.tu.ac.th/
Cstu Hotnews