เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ CSTU

หลักสูตรของเรา

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาวิชานี้มีชื่อเสียงมายาวนาน จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย ศึกษาลงลึกให้รู้จริงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายและความปลอดภัย ซึ่งสามารถเป็นพื้นฐานอย่างดีให้นำไปประยุกต์ต่อยอดในวิชาเลือกเฉพาะทางอื่นๆ เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ การทดสอบซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ และวิทยาการข้อมูล ซึ่งตอบโจทย์ทั้งผู้ที่ต้องการมุ่งสู่การศึกษาในระดับสูงขึ้น หรือประกอบอาชีพในองค์กรหรือธุรกิจได้หลากหลายเป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมาก 

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ)

ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยี ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และแอปพลิเคชันครบทั้งกระบวนการ การออกแบบและดูแลระบบสารสนเทศและเครือข่ายเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI หรือ Data Science กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตรงใจผู้ติดตามทั้งหลาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ประยุกต์)

หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยเน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ตลาดแรงงาน IT ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (เทคโนโลยีการเรียนรู้)

หลักสูตรนี้ฉีกกรอบวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะที่สอดรับกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีทักษะพิเศษในการผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้าสู่การเรียนรู้และใช้ชีวิตของคนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเน้นการพัฒนาฝีมือการวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ การฝึกออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ไอโอที, อุปกรณ์สวมใส่และระบบผสมผสาน ในวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงการพิเศษ เรียนเฉพาะวัน เสาร์-อาทิตย์ มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดดเด่นทางด้านวิชาการด้วยการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ระบบ วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีความสำคัญต่อทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเสริมสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทั้งในการวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ สร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้ทันต่อสถานการณ์โลก และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งอาชีพในสายวิชาการและการวิจัย อาชีพในภาคอุตสาหกรรม เช่น นักดูแลระบบและเครือข่าย นักวิเคราะห์และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ทั้งเว็บแอปพลิเคชัน หรือโมบายแอปพลิเคชัน ผู้ประกอบการ Tech Start up ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาระบบอัจฉริยะต่างๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรทวิภาษา)

ศึกษาเกี่ยวกับวิชาสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงสังคม พาณิชย์และอุตสาหกรรม, สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และระเบียบวิธีวิจัยสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกในหมวดปัญญาประดิษฐ์, หมวดสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, หมวดคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, หมวดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ, หมวดระบบสารสนเทศ หมวดภาษาโปรแกรม ฯลฯ

มหาบัณฑิตที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิจัย, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิเคราะห์ออกแบบระบบงาน, ผู้พัฒนาซอฟแวร์, นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้จัดการซอฟแวร์, ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม